วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 7

ครั้งที่ 7


28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553




วันนี้อาจารย์ไปทำธุระ อาจารย์ได้สั่งงานไว้ คือ ให้เลือกเกมการศึกษาจากชีท ในชีทมีอยู่ 11 แบบ ให้เลือกมา 1 แบบ ห้ามเหมือนกับเพื่อน




ข้าพเจ้าเลือกทำเกมการศึกษาคือ เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (ล๊อตโต) จะเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมทักษะการนับ การสังเกต เหมาะกับเด็กอายุตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป!!!!!!

ใหเด็กๆนับจำนวนแล้วใช้ภาพเล็กไปวางที่ตัวเลขที่กำหนดให้^^


ครั้งที่ 6

ครั้งที่ 6
22 กรกฎาคม 2533

เกมการศึกษา




ความสำคัญ - ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม




-ได้รับประสบการณ์ตรง สามารถจำได้นานขึ้น




- มีความรวดเร็ว เพลิดเพลิน และ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น




ลักษณะสื่อที่ดี - ต้องมีความปลอดภัย (ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับต้องมีความเหมาะสมกับความสามารถของ
เด็ก)

- ประหยัด (จะต้องมีประสิทธิภาพ และความคงทนต่อการเล่นของเด็ก)


หลักการเลือกสื่อ
- คุณภาพดี
- เด็กต้องเข้าใจง่ายกับสื่อ
- เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของศูนย์ หรือ โรงเรียน
- มีความเหมาะสมกับวัย
- เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
- เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ถูกต้องตามเนื้อหา
- มีความทันสมัย
- เด็กได้คิดเป็นทำเป็น กล้าที่จะแสดงออก


การประเมินผล
- สื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพียงใด
- เด็กชอบสื่อชนิดนี้มากเพียงใด
- สื่อช่วยให้สอนตรงกับจุดประสงค์หรือไม่








วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 5

ครั้งที่ 5
วันที่ 15 กรกฎาคม 2553
การนำเสนอสื่อการเรียนรู้นำ^^
การนำเสนอสื่อ
ชื่อสื่อ : เกมฝึกทักษะความจำ ชุด เกี่ยวกับตัวเรา
อายุที่เหมาะสมกับการใช่สื่อ : สามารถใช้สื่อได้ตั้งแต่อายุ 3-4 ปี
เป้าหมายของการใช้สื่อ : เกิดการเรียนรู้ทางด้านความจำ การเรียนรู้เกี่ยวกับอวัยะของร่างกาย
ของตัวเรา
เป้าหมายของสื่อ ตรงกับ พุทธิพิสัยคือ : ทางด้านสมอง ให้เด็กจดจำภาพตัวอย่างแล้วให้นำภาพแผ่นเล็กมา
วางให้ตรงกับภาพแผ่นใหญ่ ซึ่งเด็กจะต้องใช้การจำ การวิเคราะห์
และความเข้าใจเพื่อที่จะนำภาพมาเรียงให้ถูกต้อง



วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 4

ครั้งที่4
วันที่ 8 กรกฎาคม 2553
การแบ่งประเภทสื่อ



1. ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รัจากสื่อ



2. ตามลักษณะของสื่อ หรือ วิธีการใช้



ตามแนวคิดของ เฮ็ดการ์ เดล



กล่าวถึงกรวย 11 กลุ่ม คือ




  1. ประสบการณ์ตรง => เป็นรูปธรรม ลงมือกระทำจากวัตถุ
    ของจริง ประสาทสัมผัสทั้ง 5


  2. ประสบการณ์รอง => เรียนจากสิ่งใกล้เคียง ความเป็นจริงที่สุด เช่น ผลไม้จำรอง


  3. ประสบการนาฏการ หรือ การแสดง => เป็นการแสดงบทบาทสมมุติ หรือ การแสดงละคร


  4. การสาธิต => เป็นการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เด็กเห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น


  5. การศึกานอกสถานที่ => เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกห้องเรียน เช่น การไปเที่ยว


  6. นิทรรศการ => เป็นการจัดแสดงสิ่งต่างๆ เช่น การจัดป้ายนิเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และให้ความรู้ให้แก่ผู้ชม


  7. โทรทัศน์ => เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียนที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน ใช้ส่งในระบบวงจรเปิด เช่น การเรียนรู้ผ่านดาวเทียมโรงเรียนวังไกลกังวล


  8. ภาพยนต์ => บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนแผ่นฟิล์ม


  9. การบันทึกเสียง =>แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง


  10. ทัศนสัญลักษณ์ =>แผนที่ แผนสถิติ เครื่องหมายต่างๆ


  11. วจนสัญลักษณ์ => เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด


ตามแนวคิดของ บรูเนอร์





  • การกระทำ (Enactive)


  • กลุ่มภาษา (Iconic)


  • กลุ่มนามธรรม (Abstracs)



สรุป :P





  1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้


  2. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน


  3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน


  4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจับนวนของผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน


  5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม


  6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ


  7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก


เป้าหมายของการเรียนการสอน





  • พุทธิพิสัย -> สมอง


  • ทักษะพิสัย -> การเคลื่อนไหว,ร่างกาย


  • จิตตพิสัย -> ความรู้สึกของแต่ละบุคคล (เจตตพิสัย => จิตใจ)


วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 3
วันที่ 1 กรกฎาคม 2553
สื่อการสอน => ทำกการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน สื่อที่ทำให้ติดต่อถึงกัน
สื่อการศึกษา => วิธีการ เครื่องมือ และ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เป็นสื่อการศึกษา
สือการเรียนการสอน => - อุปกรณ์ต่างๆที่อาจเป็นวัสดุ เครื่องมือ กิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางแผนใช้รวมกันเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆ อย่างเหมาะสมกับความต้องการ ระดับสติปัญญาและความสามารถของนักเรียนเพ่อให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- สิ่งต่างๆที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษา เป็นพาหะที่จะนำสาร หรือ ความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น วีดีทัศน์เป็นสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน => ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ และ เทคนิคที่สอน
คุณค่าของสื่อ => ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้เร็วขึ้น
ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้
ทำให้เราเข้าใจบทเรียนที่มีเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อนได้ง่ายในระยะเวลาอันสั้น
ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผู้เรียนและเกิดความประทับใจที่น่าจดจำแก่ผู้เรียน
ช่วยให้ในการศึกษาหาความรู้