วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 17

ครั้งที่ 17
7 ตุลาคม 2553
ในวันนี้อาจารย์นัด 2 กลุ่มรวมกัน เพื่อทำการสอบปลายภาคค่ะ ข้อสอบของอาจารย์มี 7 ข้อ และเป็นข้อเขียนค่ะ เริ่มสอบตั้งแต่ 9.ooน. ค่ะ

ครั้งที่ 16

ครั้งที่ 16

30 กันยายน 2553


ในวันนี้อาจารย์นัดเรียน 2 กลุ่มพร้อมกัน และในวันนี้อาจารย์ให้นำกระดาษลังมา โดยให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดว่า กระดาษลังสามารถมาทำอะไรได้บ้าง เพื่อนๆบอกว่า เอามาทำโรงละครหุ่นมือ กล่องดินสอ โต๊ะ บ้านจำลอง ป้ายนิเทศหน้าห้อง กรอบรูป ฯลฯ หลังจากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาคิดและออกแบบทำป้ายนิเทศจากกระดาษลังที่เตรียมมา โดยอาจารย์มีอุปกรณ์ให้ คือ กระดาษสี กาว กรรไกร อาจารย์ให้ทำให้เสร็จภายในชั่วมงเรียน หนูได้ทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับผลไม้ตามฤดูกลาค่ะ หนูคิดว่า การทำงานในครั้งนี้ทำให้เราได้ประโยชน์มากมายค่ะ ทั้งความรู้ใหม่จากการทำจากกล่องลัง โดยที่เราไม่ต้องไปซื้อกระดาษในราคาแพง และยังทำให้รู้ว่า การทำงานรวมกันถึงแม้จะเป็นงานเดียวแต่ทุกคนจะต้องมาใช้อุปกรณ์ร่สมกัน ดังนั้นทุกคนต้องมีการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ไม่เอาเป็นของตัวเองแต่ฝ่ายเดียว




ครั้งที่ 15

ครั้งที่ 15


23 กันยายน 2553




วันนี้อาจารย์นัดส่งแป้งโดว์ และ อุปกรณ์ในการเล่น กลุ่มของหนูมีสามชิก 9 คน ในการเสนองานครั้งนี้มี
หฤทัยทิพย์ กับ ราฟีต้า ของมาเสนองานค่ะ อาจารย์ได้ให้คำแนะนำงานทุกกลุ่มค่ะ และ อาจารย์นัดอีกว่าอาทิตย์หน้าให้เอากระดาษลังมา คนละ 1 ชิ้น




ครั้งที่ 14

ครั้งที่ 14

16 กันยายน 2553




ในวันนี้อาจารย์ ให้เตรียมอุปกรณ์มาทำแป้งโดว์ มาทำร่วมกันกับเพื่อนๆในห้อง โดยมีส่วนผสมและวิธีการทำดังนี้


ส่วนผสม
  • เกลือ 1/2 ถ้วย
  • แป้งสาลี 1 ถ้วย
  • สารส้มป่น 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำ 1 ถ้วย
  • น้ำมันพีช 2 ช้อนโต๊ะ
  • ทาทาครีม 1 ช้อนโต๊ะ (ถ้าไม่มีใช่น้ำมันมะกอกแทนได้)
  • สีผสมอาหาร

วิธีทำ => นำเกลือ แป้งสาลี สารส้มป่น ผสมให้เข้ากัน จากนั้นค่อยเติมน้ำและน้ำมันทีละน้อยๆผสมให้เข้ากัน พอผสมให้เหนียวและค่อยใส่สีผสมอาหาร ผสมสีให้เข้ากัน แล้วนำตั้งไฟ กวนจนแป้งไม่ติดกระทะ แล้วนำยกลงจากเตา นำมานวดอีกครั้งแล้วเก็บใส่ภาชนะให้มิอชิด














ครั้งที่ 13


ครั้งที่ 13
9 กันยายน 2553





วันนี้อาจารย์ได้นัด 2 ห้องรวมกัน และ อาจารย์ได้จัดสอบกลางภาค ตอน 9.00น. ข้อสอบของอาจารย์เป็นข้อสอบข้อเขียน มี 3 ข้อ หลังจากสอบเสร็จ อาจารย์ให้ส่งชิ้นงาน Pop-Up 3 ชิ้นที่เคยสั่งไว้ นักศึกษาทุกคนทำมาสวยๆทุกคนเลยค่ะ และก็มาส่งกันอย่างพร้อมเพียงกันค่ะ







ครั้งที่ 12

ครั้งที่ 12
2 กันยายน 2553


วันนี้เกิดความวุ้นวายนิดหน่อย เพราะ อาจารย์เรียก 2 ห้องมาเรียนรวมกัน ความวุ้นวายอาจเกิดจาก เก้าอี้ในห้องมีไม่พอกับนักศึกษา วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง เกมการศึกษา และเอา เกมมาให้นักศึกษาได้ลองเล่น โดยการแบ่งเป็นกลุ่มๆเล่นตามฐานต่างๆที่อาจารย์จัดไว้ให้ วันนี้คนอาจจะเยอะแต่สนุกมาก เกมที่อาจารย์นำมาให้เล่น หนูคิดว่า มันทำให้เกิดประโยชน์แก่ตัวนักศึกษามาก เพราะนักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เวลาไปฝึกสอน หรือ สอนในอนาคตข้างหน้า ได้






ครั้งที่ 11

ครั้งที่ 11


วันที่ 26 สิงหาคม 2553



วันนี้อาจารย์ติดภาระกิจของมหาวิทยาลัย เนื่อจากอาจารย์จะต้องไปเสนองานวิจัย ในงานการนำเสนองานวิจัยแห่งชาติ ณ ศูนย์ประชุมบางกอก คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรั้ลเวิลด์ ซึ่ง หนูกับเพื่ออีก 3 คน ได้เป็นตัวแทนให้ไปในงานนี้ด้วย ซึ่งงานนี้เป็นงานใหญ่มาก โดยช่วงเช้ามี นายกรัฐมนตรีมาเปิดงานในพิธี และช่วงบ่าย สมเด็จพระเทพได้เสด็จมาเปิดงานในครั้งนี้ หนูมีความรู้สึกดีใจ และ ภาคภูมิใจที่ได้รับเสร็จในงานใรครั้งนี้ค่ะ

ครั้งที่ 10

ครั้งที่ 10
19 สิงหาคม 2553
วันนี้อาจารย์ให้ส่งงานที่ได้รับมอบหมายไป ถ้าใครเสร็จแล้ว อาจารย์ได้สั่งงานชึ้นใหม่ 3 ชึ้น คือ
  • การพับกระดาษแบบปากนก
  • การพับกระดาษแบบมีมิติ 3 มิติ คือการพับแบบตั้ง มีลักษณะคล้ายเก้าอี้
  • การพับกระดาษแบบสามารถโผล่หัวที่เราต้องการออกมาได้

อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาเอากลับไปทำเป็นการบ้าน และ ให้จิตนาการ และ สร้างขึ้นมาเองค่ะ และให้ส่งพฤหัสหน้าค่ะ

ครั้งที่ 9

ครั้งที่ 9

7 สิงหาคม 2553


วันนี้อาจารย์นัด 8.00นฬ เพื่อมาอบรม เรื่องสื่อการสอน โดยมีวิทยากรที่ชำนาญทั้ง 2 ท่าน และ อาจารย์ด้วย การอบรมในครั้งนี้ อาจารย์ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และเพื่อให้นักศึกษาจะทำขึ้นเองไม่ต้องไปหาซื้อ การที่มาอบรมครั้งนี้หนูคิดว่าได้ประโยชน์อย่างมาก ทั้งเรื่องของการทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือกัน และ สุดท้ายการอบรมในครั้งนี้อาจารย์ได้แจกเงินค่าอาหารกลางวันคนละ 30 บาทอีกด้วย การอบรมในครั้งนี้มีทั้งสื่อ ภาพชัก ป็อปอัพ การทำทีวีจากกล่องลัง หนูต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่จัดอบรมในครั้งนี้ เพราะทำให้ได้รับประโยชน์มากมายค่ะ ขอบคุณค่ะ

ครั้งที่ 8

ครั้งที่ 8
5 สิงหาคม 2553
วันนี้อาจารย์ได้มาชี้แจ้งว่า จะมีการอบรมสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการที่อาจารย์จะจัดอบรมเอง โดยมีวิทยากรที่เชี่ยวชาญทางด้านการทำสื่อ มาอบรมให้กับนักศึกษาปี 2 เพื่อให้เข้ารับการอบรมเพื่อลงมือปฏิบัติและทำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน การอบรมในครั้งนี้จะมีขึ้นใน วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2553 เวลา 8.00น.เป็นต้นไป ให้นักศึกษามาพร้อมกันที่อาคาร ช.บริหาร

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 7

ครั้งที่ 7


28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553




วันนี้อาจารย์ไปทำธุระ อาจารย์ได้สั่งงานไว้ คือ ให้เลือกเกมการศึกษาจากชีท ในชีทมีอยู่ 11 แบบ ให้เลือกมา 1 แบบ ห้ามเหมือนกับเพื่อน




ข้าพเจ้าเลือกทำเกมการศึกษาคือ เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (ล๊อตโต) จะเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมทักษะการนับ การสังเกต เหมาะกับเด็กอายุตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป!!!!!!

ใหเด็กๆนับจำนวนแล้วใช้ภาพเล็กไปวางที่ตัวเลขที่กำหนดให้^^


ครั้งที่ 6

ครั้งที่ 6
22 กรกฎาคม 2533

เกมการศึกษา




ความสำคัญ - ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม




-ได้รับประสบการณ์ตรง สามารถจำได้นานขึ้น




- มีความรวดเร็ว เพลิดเพลิน และ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น




ลักษณะสื่อที่ดี - ต้องมีความปลอดภัย (ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับต้องมีความเหมาะสมกับความสามารถของ
เด็ก)

- ประหยัด (จะต้องมีประสิทธิภาพ และความคงทนต่อการเล่นของเด็ก)


หลักการเลือกสื่อ
- คุณภาพดี
- เด็กต้องเข้าใจง่ายกับสื่อ
- เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของศูนย์ หรือ โรงเรียน
- มีความเหมาะสมกับวัย
- เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
- เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ถูกต้องตามเนื้อหา
- มีความทันสมัย
- เด็กได้คิดเป็นทำเป็น กล้าที่จะแสดงออก


การประเมินผล
- สื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพียงใด
- เด็กชอบสื่อชนิดนี้มากเพียงใด
- สื่อช่วยให้สอนตรงกับจุดประสงค์หรือไม่








วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 5

ครั้งที่ 5
วันที่ 15 กรกฎาคม 2553
การนำเสนอสื่อการเรียนรู้นำ^^
การนำเสนอสื่อ
ชื่อสื่อ : เกมฝึกทักษะความจำ ชุด เกี่ยวกับตัวเรา
อายุที่เหมาะสมกับการใช่สื่อ : สามารถใช้สื่อได้ตั้งแต่อายุ 3-4 ปี
เป้าหมายของการใช้สื่อ : เกิดการเรียนรู้ทางด้านความจำ การเรียนรู้เกี่ยวกับอวัยะของร่างกาย
ของตัวเรา
เป้าหมายของสื่อ ตรงกับ พุทธิพิสัยคือ : ทางด้านสมอง ให้เด็กจดจำภาพตัวอย่างแล้วให้นำภาพแผ่นเล็กมา
วางให้ตรงกับภาพแผ่นใหญ่ ซึ่งเด็กจะต้องใช้การจำ การวิเคราะห์
และความเข้าใจเพื่อที่จะนำภาพมาเรียงให้ถูกต้อง



วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 4

ครั้งที่4
วันที่ 8 กรกฎาคม 2553
การแบ่งประเภทสื่อ



1. ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รัจากสื่อ



2. ตามลักษณะของสื่อ หรือ วิธีการใช้



ตามแนวคิดของ เฮ็ดการ์ เดล



กล่าวถึงกรวย 11 กลุ่ม คือ




  1. ประสบการณ์ตรง => เป็นรูปธรรม ลงมือกระทำจากวัตถุ
    ของจริง ประสาทสัมผัสทั้ง 5


  2. ประสบการณ์รอง => เรียนจากสิ่งใกล้เคียง ความเป็นจริงที่สุด เช่น ผลไม้จำรอง


  3. ประสบการนาฏการ หรือ การแสดง => เป็นการแสดงบทบาทสมมุติ หรือ การแสดงละคร


  4. การสาธิต => เป็นการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เด็กเห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น


  5. การศึกานอกสถานที่ => เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกห้องเรียน เช่น การไปเที่ยว


  6. นิทรรศการ => เป็นการจัดแสดงสิ่งต่างๆ เช่น การจัดป้ายนิเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และให้ความรู้ให้แก่ผู้ชม


  7. โทรทัศน์ => เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียนที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน ใช้ส่งในระบบวงจรเปิด เช่น การเรียนรู้ผ่านดาวเทียมโรงเรียนวังไกลกังวล


  8. ภาพยนต์ => บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนแผ่นฟิล์ม


  9. การบันทึกเสียง =>แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง


  10. ทัศนสัญลักษณ์ =>แผนที่ แผนสถิติ เครื่องหมายต่างๆ


  11. วจนสัญลักษณ์ => เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด


ตามแนวคิดของ บรูเนอร์





  • การกระทำ (Enactive)


  • กลุ่มภาษา (Iconic)


  • กลุ่มนามธรรม (Abstracs)



สรุป :P





  1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้


  2. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน


  3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน


  4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจับนวนของผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน


  5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม


  6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ


  7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก


เป้าหมายของการเรียนการสอน





  • พุทธิพิสัย -> สมอง


  • ทักษะพิสัย -> การเคลื่อนไหว,ร่างกาย


  • จิตตพิสัย -> ความรู้สึกของแต่ละบุคคล (เจตตพิสัย => จิตใจ)


วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 3
วันที่ 1 กรกฎาคม 2553
สื่อการสอน => ทำกการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน สื่อที่ทำให้ติดต่อถึงกัน
สื่อการศึกษา => วิธีการ เครื่องมือ และ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เป็นสื่อการศึกษา
สือการเรียนการสอน => - อุปกรณ์ต่างๆที่อาจเป็นวัสดุ เครื่องมือ กิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางแผนใช้รวมกันเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆ อย่างเหมาะสมกับความต้องการ ระดับสติปัญญาและความสามารถของนักเรียนเพ่อให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- สิ่งต่างๆที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษา เป็นพาหะที่จะนำสาร หรือ ความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น วีดีทัศน์เป็นสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน => ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ และ เทคนิคที่สอน
คุณค่าของสื่อ => ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้เร็วขึ้น
ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้
ทำให้เราเข้าใจบทเรียนที่มีเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อนได้ง่ายในระยะเวลาอันสั้น
ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผู้เรียนและเกิดความประทับใจที่น่าจดจำแก่ผู้เรียน
ช่วยให้ในการศึกษาหาความรู้

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นิยามของสื่อ


ครั้งที่ 2
วันที่ 24 มิถุนายน 2553


นิยามของสื่อ => ตัวกลางที่ถ่ายทอดข่าวสาร เนื้อหา ทักษะ ความรู้ควาทสามารถ ดังนั้นสื่อจริงมีความสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก




เด็กแรกเกิด - 6 ปี => เป็นช่วงวัยที่กำลังอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น อยากทำอะไรด้วยตัวเอง วัยที่กำลังเรียนแบบ และที่สำคัญ ต้องการความรัก และ ความอบอุ่นจากพ่อและแม่



เด็กปฐมวัยคือ? => ช่วงวัยของเด็กตั้งแต่แรกเกิด-6ปี เป็นช่วงวัยที่กำลังอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น เป็นช่วงวัยที่สนุกสนานร่าเริง



เราควรจะศึกษาเด็กปฐมวัยอย่างไรถึงจะรู้ว่าเด็กเป็นอย่างไร? => ควรเข้าไปศึกษาจากโรงเรียน หรือ จับกลุ่ม 5-6คน เพื่อเข้าไปศึกษาจากพัฒนาการและศักยภาพโดยรวมของเด็ก



เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้อย่างไร? => ได้เรียนรู้จากห้องเรียน เรียนรู้จากธรรมชาติ เรียนรู้จากสภาพความเป็นจริง สิ่งแวดล้อมรอบตัว



นักทฤษฎีที่เราพอจะจำและเข้าใจ => หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า
Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน